การวิเคราะห์โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลประโยชน์ของโครงการที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ผลการวิเคราะห์ทำให้สามารถประเมินได้ว่าการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจหรือไม่ โดยถ้าโครงการดังกล่าวให้ผลประโยชน์ตอบแทนต่อสังคมส่วนรวมมากกว่าทรัพยากรหรือต้นทุนที่สังคมต้องสูญเสียไป ก็จะถือว่าโครงการดังกล่าวมีความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งผลการวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจจะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจว่า ควรจะดำเนินการโครงการต่อไปหรือไม่ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการพิจารณาให้การส่งเสริมหรือสนับสนุนโครงการว่าควรจะให้การสนับสนุนโครงการใดเมื่อทรัพยากรและงบประมาณของรัฐมีจำกัด
1) กรอบแนวคิดและภาพรวมในการวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐกิจ
กรอบในการวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย การวิเคราะห์ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของโครงการและการประเมินผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น โดยการประยุกต์ใช้กรอบในการวิเคราะห์โครงการทำให้สามารถตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส และเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจของโครงการด้านการคมนาคมและขนส่งคือ การหาเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินโครงการหรือการค้นหาวัตถุประสงค์ของโครงการซึ่งส่วนมากโครงการจะเป็นโครงสร้างแบบลำดับชั้น ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการและผลลัพธ์ เริ่มต้นด้วยการเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยนำเข้า (Input) และผลผลิต (Output) ที่มีผลต่อเนื่องไปยังวัตถุประสงค์ และท้ายสุดต่อเนื่องไปยังเป้าหมายดังแสดงในรูปที่ 1 โดยเป้าหมายระดับประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะถูกนำไปแปลงสู่วัตถุประสงค์ในระดับสาขา จากวัตถุประสงค์ในระดับสาขาก็จะมีการนำมาแปลงเป็นแผนปฏิบัติการ ซึ่งอยู่ในระดับแผนงานหรือโครงการ โดยผลผลิตของโครงการส่วนใหญ่จะสามารถวัดในเชิงปริมาณได้ ซึ่งผลิตผลระดับโครงการดังกล่าวจะมีส่วนช่วยให้วัตถุประสงค์ในระดับสาขา และต่อเนื่องไปถึงเป้าหมายและนโยบายระดับประเทศบรรลุผลตามไปด้วย
รูปที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐกิจ
ในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจของโครงการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองเชียงคาน (ด้านตะวันออก) ผลิตผลของโครงการไม่สามารถซื้อขายได้ในตลาด การประเมินผลประโยชน์ของโครงการจึงเป็นการประเมินต้นทุนที่สามารถประหยัดได้ (Economic Cost Savings) ระหว่างกรณีที่มีโครงการ (With Project) และกรณีที่ไม่มีโครงการ (Without Project) โดยภาพรวมของการวิเคราะห์โครงการแสดงดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 ภาพรวมการวิเคราะห์โครงการ
2) งานประเมินค่าใช้จ่าย
การประเมินค่าใช้จ่ายของโครงการประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ค่าควบคุมงาน ค่าออกแบบ ค่าดำเนินการ ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าบำรุงรักษา ตลอดอายุการวิเคราะห์โครงการ ค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการเสริมอื่น ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายตามมาตรการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และรายการอื่น ๆ ที่สามารถประเมินเป็นมูลค่าทางการเงินได้ และจะแสดงรายละเอียดแยกไว้เป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน ที่ปรึกษาจะแสดงมูลค่าการลงทุนต่าง ๆ ทั้งราคาทางด้านการเงินและราคาทางด้านเศรษฐกิจ โดยราคาประมาณการจะใช้ราคา ณ ปีปัจจุบันเป็นปีฐาน ซึ่งในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจนั้นค่าใช้จ่ายของโครงการจะหมายถึง ต้นทุนที่แท้จริงของทรัพยากรที่นำมาใช้ในการดำเนินโครงการโดยหักค่าใช้จ่ายที่เป็นรายการเงินโอนต่าง ๆ เช่น ภาษี อากรขาเข้าและขาออก ดอกเบี้ย และเงินชดเชยต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้น ในการวิเคราะห์จึงต้องมีการปรับมูลค่าทางการเงินให้เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยการนำมูลค่าทางการเงินคูณด้วยตัวปรับค่า (Conversion Factor) โดยใช้ตัวปรับค่าที่เคยมีการศึกษาไว้ของธนาคารโลกในกรณีของประเทศไทย ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ค่าชดเชยอสังหาริมทรัพย์ บริการทางด้านวิศวกรรม ค่าสำรวจออกแบบ ค่าควบคุมงานก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการติดตามและตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อม
3) งานประเมินผลประโยชน์
การประเมินผลตอบแทนของโครงการ จะพิจารณามูลค่าที่ได้จากการมีโครงการ (With Project) เทียบกับกรณีไม่มีโครงการ (Without Report) โดยข้อมูลในกรณีที่ไม่มีโครงการจะใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างกับกรณีที่มีโครงการ ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงผลตอบแทนที่เกิดขึ้นเนื่องจากการมีโครงการ ซึ่งผลตอบแทนของโครงการจะประกอบด้วย ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้เส้นทางโครงการ
ที่สามารถประเมินมูลค่าเป็นตัวเงินได้ (Tangible Benefit) และผลตอบแทนที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่ได้ใช้เส้นทางโครงการที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าเป็นตัวเงินได้ (Intangible Benefit) โดยแสดงเป็นราคาด้านการเงินและราคาด้านเศรษฐกิจ และปรับปรุงค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ทางทั้งค่าใช้จ่ายในการใช้รถ (Vehicle Operating Costs) มูลค่าเวลา (Time Costs) และมูลค่าอุบัติเหตุ (Accident Costs) ให้เป็นปีปัจจุบันและเหมาะสมกับสภาพการจราจรในพื้นที่ โดยจะมีการปรับปรุงข้อมูลพื้นฐาน (Basic Data) ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ
สำหรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นตามกรอบการวิเคราะห์จาก User and Non-User Benefit Analysis for Highways, AASHTO (2010) ประกอบด้วยผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้เส้นทาง (User Benefits) และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่ได้ใช้เส้นทาง (Non-User Benefits) แสดงดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 การวิเคราะห์ผลประโยชน์โครงการ
4) งานวิเคราะห์ผลตอบแทนของโครงการด้านเศรษฐกิจ
วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ของโครงการ โดยแสดงผลการวิเคราะห์ในรูปของผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return: EIRR) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (Benefit – Cost Ratio: B/C) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) อัตราผลตอบแทนปีแรก (First Year Rate of Return: FYRR) พร้อมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน (Risk and Uncertainty Analysis) ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ
4.1) ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR)
4.2) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (Benefit – Cost Ratio: B/C)
4.3) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV)
4.4) อัตราผลตอบแทนปีแรก (First Year Rate of Return: FYRR)
4.5) การวิเคราะห์ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน (Risk and Uncertainty Analysis)